วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความรู้วิชา ภาษาอังกฤษ


อาชีพ ภาษาอังกฤษ ต่อไปนี้ เป็นคำศัพท์ที่นักเรียนต้องจดจำให้ได้นะครับ เป็นคำศัพท์อาชีพภาษาอังกฤษพื้นฐานที่นักเรียนพบเจอในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว ดูพ่อแม่พี่น้องของเรารอบๆกายก็ได้ครับว่าท่านเหล่านั้นมีอาชีพต่างๆอะไรกันบ้าง
ว่าแต่ตอนนี้คิดไว้หรือยังว่าโตขึ้นอยากจะเป็นอะไร ถ้ามีอาชีพอยู่ในใจแล้วก็อย่าลืมตั้งใจเล่าเรียนหนังสือให้เก่งๆนะครับ เพราะปัจจุบันนี้การสอบแข่งขันก็เพื่อคัดเอาคนที่มีความรู้ความสามารถไปทำงานกับองค์กรครับ
มาดูกันเลยว่าคําศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับอาชีพที่สำคัญๆ นั้นมีอะไรกันบ้าง คำอ่านตัวเข้มหมายถึงให้อ่านเน้นเสียงนะครับ อาชีพ ภาษา อังกฤษ แปล ไทย ไว้แล้วเรียบร้อย อันไหนแปลไม่ออกก็ดูได้นะครับ

ความรู้วิชา สุขศึกษา

กีฬาปิงปองได้เริ่มขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1890 (พ.ศ. 2433) ที่ประเทศอังกฤษ โดยในอดีตอุปกรณ์ที่ใช้เล่นปิงปองเป็นไม้หุ้มหนังสัตว์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับไม้ปิงปองในปัจจุบัน ส่วนลูกที่ใช้ตีเป็นลูกเซลลูลอยด์ ซึ่งทำจากพลาสติกกึ่งสังเคราะห์ โดยเวลาที่ลูกบอลกระทบกับพื้นโต๊ะ และไม้ตีจะเกิดเสียง "ปิก-ป๊อก"  ดังนั้น กีฬานี้จึงถูกเรียกชื่อตามเสียงที่ได้ยินว่า "ปิงปอง" และได้เริ่มแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรปก่อน

          ซึ่งวิธีการเล่นในสมัยยุโรปตอนต้น จะเป็นการเล่นแบบยัน (BLOCKING)  และแบบดันกด (PUSHING) ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นการเล่นแบบ BLOCKING และ CROP  หรือเรียกว่า การเล่นถูกตัด ซึ่งวิธีการเล่นนี้เป็นที่นิยมมากแถบนยุโรป ส่วนวิธีการจับไม้ จะมี 2 ลักษณะ คือ จับไม้แบบจับมือ  ซึ่งเราเรียกกันว่า "จับแบบยุโรป" และการจับไม้แบบจับปากกา (PEN-HOLDER) ซึ่งเราเรียกกันว่า "จับไม้แบบจีน" 

          ในปี ค.ศ. 1900 (พ.ศ.  2443) เริ่มปรากฏว่า มีการหันมาใช้ไม้ปิงปองติดยางเม็ดแทนหนังสัตว์ ดังนั้นวิธีการเล่นแบบรุก หรือแบบบุกโจมตี หรือ OFFENSIVE)  โดยใช้ท่า หน้ามือ (FOREHAND)  และ หลังมือ  (BACKHAND) เริ่มมีบทบาทมากขึ้น และยังคงนิยมการจับแบบไม้แบบยุโรป ดังนั้นจึงถือว่ายุโรปเป็นศูนย์รวมของกีฬาปิงปองอย่างแท้จริง

          ต่อมาในปี ค.ศ. 1922 (พ.ศ. 2465)  ได้มีบริษัทค้าเครื่องกีฬา จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าว่า  ด้วยเหตุนี้ กีฬาปิงปองจึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็น เทลเบิลเทนนิส (TABLE TENNIS) และในปี ค.ศ. 1926 (พ.ศ. 2469) ได้มีการประชุมก่อตั้งสหพันธ์เทเบิลเทนนิสนานาชาติ (INTERNATIONAL  FEDERATION :  ขึ้นที่กรุงลอนดอนในเดือนธันวาคม  พร้อมกับมีการจัดการแข่งขันเทเบิลเทนนิสแห่งโลกครั้งที่ 1  ขึ้น เป็นครั้งแรก

          

ความรู้วิชา Math


ความรู้วิชา EIS


วันพุธที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

ความรู้วิชา ศิลปะ

วรรณะของสี
        คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และสีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ แบ่งออกเป็น 2 วรรณะ
         1.วรรณะสีร้อน (WARM TONE) ประกอบด้วยสีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีม่วงแดงและสีม่วง สีใน  วรรณะร้อนนี้จะไม่ใช่สีสดๆ ดังที่เห็นในวงจรสีเสมอไป เพราะสีในธรรมชาติย่อมมีสีแตกต่างไปกว่าสีในวงจรสีธรรมชาติอีกมาก ถ้าหากว่าสีใด  ค่อนข้างไปทางสีแดงหรือสีส้ม เช่น สีน้ำตาลหรือสีเทาอมทอง ก็ถือว่าเป็นสีวรรณะร้อน
         2.วรรณะสีเย็น (COOL TONE) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน และสีม่วง ส่วนสีอื่นๆ ถ้าหนักไปทางสีน้ำเงินและสีเขียวก็เป็นสีวรรณะเย็นดังเช่น สีเทา สีดำ สีเขียวแก่ เป็นต้น จะสังเกตได้ว่าสีเหลืองและสีม่วงอยู่ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น ถ้าอยู่ในกลุ่มสีวรรณะร้อนก็ให้ความรูสึกร้อนและถ้า อยู่ในกลุ่มสีวรรณะเย็นก็ให้ความรู้สึกเย็นไปด้วย สีเหลืองและสีม่วงจึงเป็นสีได้ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น
  

ความรู้วิชา จีน

หน่วยเงินของเหรินหมินปี้

หน่วยเงินพื้นฐานของเหรินหมินปี้ คือ หยวน  โดยทั่วไปจะเขียนโดยใช้อักษร 元 แต่ตามแบบแผนแล้ว จะใช้ตัวอักษร 圆 เพื่อป้องกันการปลอมแปลง ในบางครั้งชื่อของเงินตรา (เหรินหมินปี้) ก็สับสนกับคำที่ใช้เรียกหน่วยเงิน (หยวน). และในบางโอกาส หยวนก็ถูกเรียกเป็น ดอลลาร์ และคำย่อ  บางครั้งก็เขียนเป็น 
หยวน แบ่งเป็น 10 เจียว  1 เจียว แบ่งเป็น 10 เฟิน  ธนบัตรเหรินหมินปี้ที่มีมูลค่าสูงสุดคือ 100 หยวน ส่วนธนบัตรที่มีมูลค่าเล็กที่สุดคือ 1 เฟิน
ในภาษาจีนกลาง มักเรียก หยวน ว่า ไคว่  และเรียก เจียว ว่า เหมา 
ในสาธารณรัฐประชาชนจีน มักจะเขียนราคาโดยมีสัญลักษณ์ ¥ ข้างหน้าราคา และมักจะมีการเขียนสัญลักษณ์ 元 หลังราคาเช่นกัน
บ่อยครั้ง จะเขียนเลขจีนตามแบบแผเลขจีน
นเพื่อป้องกันการปลอมแปลงและการทำบัญชีผิด ข้อมูลเพิ่มเติมที่

ความรู้วิชา คอมพิวเตอร์



ความรู้วิชา การงานอาชีพ

ขั้นตอนการก็ไม่ยุ่งยากเลยใครก็ทำได้ ทั้งยังปรับเปลี่ยนได้หลากหลายรูปแบบตามแต่จะจินตนาการ ซึ่งก็คือ "ตุ๊กตาการบูร เด็กแนว" ลองทำดูแล้วจะรู้ว่าง่าย ใช้แขวนดับกลิ่นหรือเพิ่มความสดชื่น ที่สำคัญกลายเป็นอาชีพเสริมให้กับคุณแม่บ้านก็ได้ เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

วัสดุ-อุปกรณ์
1.ถุงเท้าขนาดเล็ก หรือถุงเท้าเด็ก (สีอะไรก็ได้ แต่ที่แนะนำคือมองดูสวย ดังนั้นควรจะเป็นสีสดหรือออกฉูดฉาด:นก แนะนำ)
2.การบูร
3.ใยสังเคราะห์ (ใช้เกรดต่ำเช่น A ตัวเดียวก็ได้:นก แนะนำ)
4.เชือกผ้าเส้นใหญ่ เส้นเล็ก
5.เข็ม ด้าย หนังยาง กาวลาเท็กซ์
6.ตาตุ๊กตา กิ๊บติดผม

1.ตัดถุงเท้าตรงส่วนส้นเท้าออก (ตามรูป) จะได้ถุงเท้าเป็น 2 ส่วน (พยายามให้รอยตัดเป็นเส้นตั้งฉาก)
2.นำก้อนการบูรหุ้มด้วยใยสังเคราะห์ แล้วใส่เข้าไปในถุงเท้าส่วนที่ 1 จัดรูปทรงให้เป็นก้อนกลม แล้วใช้หนังยางรัด และนำส่วนที่ 2 มาพับส่วนปลายเข้าด้านในสวมรอบในส่วนที่ 1 (ส่วนที่ 2 มียางยืดของถุงเท้าอยู่ทำให้ครอบแล้วแน่นหนาไม่เลื่อนหลุด)
3.นำเชือกผ้าขนาดยวพอประมาณ มามัดปมทั้งสองข้าง แล้วมัดเชือกที่คอตุ๊กตาปิดหนังยางให้มิด (ตามรูป) และนำอีกเส้นมัดปม 2 ข้าง มาทำเป็นขาตุ๊กตาเย็บด้ายติดกับตัวเสื้อตุ๊กตา
4.ตกแต่งหน้าตุ๊กตา โดยใช้กาวลาเท็กซ์ติดลูกตา นำกิ๊บมาติดที่หมวก ส่วนปากใช้เชือกผ้าเส้นเล็กหรือใหมพรมชุบกาวติดลงไป
5.ทำเชือกแขวนเย็บติดที่หัวตุ๊กตา (อย่าทำที่หมวกเพราะอาจหลุดจากตัวตุ๊กตาเวลาแขวน)

เท่านี้เราก็ได้ตุ๊กตาการบูรน่ารักๆ ไว้แขวนตกแต่งประดับห้อง ทั้งนี้อาจตกแต่งเพิ่มเติมจากตัวอย่างได้ ขึ้นอยู่กับความชอบ เช่น อาจติดดอกไม้ที่หมวก ให้ดูเป็นตุ๊กตาผู้หญิง หรือหาเศษผ้ามาทำเป็นผ้าพันคอให้เหมือนตุ๊กตาเมืองหนาวหรือจะสลับสีถุงเท้าคนละข้างกันก็เก๋กู๊ด 

ความรู้วิ ประวัติฯ





ความรู้วิชา สังคมศึกษา


ความรู้วิชา คณิตศาสตร์


ความรู้วิชา วิทยาสตร์


ความรู้วิชา ภาษาไทย




ความหมายของคำสรรพนาม
               คำสรรพนาม  หมายถึง  คำที่ใช้แทนคำนามชนิดต่าง ๆ เพื่อไม่ต้องกล่าวคำนามซ้ำอีกครั้ง
 ชนิดของคำสรรพนาม
               หลักภาษาไทยได้แบ่งคำสรรพนามออกเป็น ๖ ชนิด  ดังนี้
                   ๑. บุรุษสรรพนาม  คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนามในการพูดจากัน  แบ่งเป็น  ๓  ชนิด  ดังนี้
                       ๑.๑  สรรพนามบุรุษที่ ๑  ใช้แทนผู้พูด            เช่น     ผม  ฉัน  ข้าพเจ้า
                       ๑.๒  สรรพนามบุรุษที่ ๒  ใช้แทนผู้ฟัง            เช่น     ท่าน  เธอ  คุณ
                       ๑.๓  สรรพนามบุรุษที่ ๓  ใช้แทนผู้กล่าวถึง      เช่น     เขา  มัน  ท่าน
                   ๒. นิยมสรรพนาม คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนามเพื่อบอกกำหนดให้ชัดเจนว่าอยู่ใกล้หรือไกล ได้แก่คำว่า  นี่  นั่น  โน่น  นี้  เช่น
                       นี่คือบ้านของฉัน                    นั่นเป็นโรงเรียน
                       โน่นเป็นตลาด                       นี้ของเธอ
                   ๓.  อนิยมสรรพนาม  คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนามบอกความไม่แน่นอน  ไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่คำว่า  ใคร  อะไร  ที่ไหน  สิ่งใด  เช่น
                       ใคร ๆ ก็เคยทำผิดทั้งนั้น
                       อะไรก็ไม่สำคัญเท่าการสอบเข้ามหาวิทยาลัย
                       ผู้ใดฝ่าฝืนกฎจะถูกลงโทษอย่างหนัก
                   ๔. ปฤจฉาสรรพนาม  คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนาม และใช้เป็นคำถาม  ได้แก่คำว่า  ใคร  อะไร  ที่ไหน  สิ่งใด  ผู้ใด  เช่น
                       อะไรอยู่ในขวด
                       ใครเป็นผู้แต่งเรื่องนายทองอิน
                       เมื่อไรเธอจะกลับมา
                   ๕.  วิภาคสรรพนาม  คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามเพื่อแยกนามนั้นออกเป็นส่วน ๆ ได้แก่คำว่า  ต่าง  บ้าง  กัน  บรรดา  เช่น
                       นักเรียนต่างคนต่างเดินทางกลับบ้าน          นักเรียนมีหลายคน  นักเรียนแต่ละคน
                                                                                         เดินทางกลับบ้าน โดย ต่าง  แทน  นักเรียน
                       พี่กับน้องไปโรงเรียนด้วยกัน             คำว่า  กัน  ในที่นี้แสดงจำนวนหลายคนที่ร่วมกระทำ
                   ๖.  ประพันธสรรพนาม  คือ  สรรพนามที่ใช้แทนคำนามที่อยู่ข้างหน้า  โดยทำหน้าที่เชื่อมประโยคให้เป็นประโยคเดียวกัน  ได้แก่คำว่า  ที่  ซึ่ง  อัน  ผู้  เช่น
                       รถยนต์ที่ผลิตจากประเทศญี่ปุ่นประหยัดน้ำมันมาก 
                       (ที่  เป็นคำสรรพนามที่แทนคำนาม รถยนต์)                                   
                       เขาเป็นคนดีอันเกิดจากการอบรมของพ่อแม่
                       (อัน  เป็นคำสรรพนามที่แทนคำนาม  คนดี)
ข้อสังเกตควรจำ
๑. คำว่า  หลอน  เธอ  ท่าน  สามารถเป็นได้ทั้งสรรพนามบุรุษที่ ๒ และ ๓ โดยพิจารณาจากเนื้อความของประโยค
๒. คำที่เป็นนิยมสรรพนาม  ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยคหรือเขียนหลังคำกริยา
   แต่ถ้าเขียนอยู่หลังคำนามหรือคำสรรพนามอื่น ไม่ใช่นิยมสรรพนาม
   แต่เป็นนิยมวิเศษณ์ เช่น
      คนนี้ต้องการความช่วยเหลือ  นี้ เขียนหลังคำนาม คน  จะทำหน้าที่เป็นคำขยาย
                                           ไม่ใช่ ประธานของประโยค จึงเป็นนิยมวิเศษณ์
หน้าที่ของคำสรรพนาม
               ๑. คำสรรพนามทำหน้าที่เป็นประธาน    เช่น  เขาชอบวิ่งออกกำลังกายตอนเช้า
               ๒. คำสรรพนามทำหน้าที่เป็นกรรม       เช่น   เขาเห็นเธอนั่งอยู่คนเดียว
               ๓. ทำหน้าที่เป็นส่วนเติมเต็ม (คำสรรพนามจะอยู่หลังคำกริยาเหล่านี้ เป็น เหมือน คล้าย เท่า คือ ) เช่น  ดาราคนนั้นหน้าเหมือนคุณมาก
               ๔. ทำหน้าที่ใช้เป็นคำเรียกขาน    เช่น  ท่านคะมีแขกมาขอพบค่ะ